คำถามที่พบบ่อย

วัสดุกระดาษ

กระดาษแบบชนิดด้านไม่มันเงา เนื้อกระดาษเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย

กระดาษชนิดมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี

กระดาษชนิดนี้ จะมีกาวเคลือบเพื่อไห้สามารถนำไปติดสินค้าได้เลย

ทำจากวัสดุพิเศษ จะมีกาวเคลือบเพื่อไห้สามารถนำไปติดสินค้าได้และยังสามารถกันน้ำได้ด้วย

ความหนากระดาษ

70-80 แกรม
กระดาษค่อนข้างบาง นิยมใช้กับงาน สติ๊กเกอร์ โบวชัวร์ กระดาษหัวจดหมาย บัตรกำนัล

120-160 แกรม
จะหนากว่ากระดาษ 70-80 แกรมเล็กน้อย นิยมใช้กับงานโบวชัวร์ที่ต้องการความหนาขึ้น

250 แกรม
เนื้อกระดาษหนา เหมาะสำหรับพิมพ์นามบัตร โปสการ์ด ปกหนังสือ ป้ายชื่อ เมนูร้านอาหาร

350 แกรม
เนื้อกระดาษหนา แข็งแรง เหมาะสำหรับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ปกหนังสือ โปสเตอร์ แฟ้มนำเสนอ แคตตาล็อก เป็นต้น

การเคลือบงานพิมพ์

เป็นการใช้แผ่นฟิล์มเคลือบทับบนงานพิมพ์ ช่วยเพิ่มความคงทน ป้องกันการฉีกขาด รวมถึงกันความชื้นกับน้ำได้ดีในระดับนึง ช่วยให้ชิ้นงานดูหรูมีระดับมากขึ้น แต่การเคลือบลามิเนตจะไม่สามารถเคลือบลงบนกระดาษบางมากๆได้

เป็นการใช้น้ำยาเคลือบลงบนการพิมพ์กระดาษและทำให้แห้งด้วยแสง uv จะทำให้งานมีความเงามากกว่าฟิล์มทั่วๆไป ทำให้งานดูพรีเมี่ยมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยปกป้องชิ้นงานจากละอองน้ำหรือรอยขีดข่วน

ลูกเล่นงานพิมพ์

เป็นการกดทับกระดาษให้ได้รูปแบบตามลักษณะของแม่พิมพ์ เพื่อให้ชิ้นงานบางส่วนนูนขึ้นมา ทำให้ดูมีมิติและเพิ่มความสวยงามของชิ้นงาน การปั๊มนูนส่วนใหญ่จะนิยมปั๊มในส่วนของโลโก้ ตัวอักษรพาดหัว หัวกระดาษ เพื่อให้ส่วนนั้นดูเด่นและมีมิติมากขึ้น

เป็นการใช้ความร้อนทำให้ฟลอยด์ละลายไปเคลือบตัวชิ้นงาน นิยมใช้สีเงินกับสีทอง ช่วยเพิ่มมูลค่าของชิ้นงานให้ดูพรีเมี่ยมมากยิ่งขึ้น ชิ้นงานที่นิยมในการปั้มเค ได้แก่ นามบัตร ปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น จะนิยมปั้มในส่วนของโลโก้เพื่อให้ดูเด่นยิ่งขึ้น

เป็นเทคนิคการเคลือบด้วยวินิช ยูวี ลงบนชิ้นงานที่ต้องการจะเน้นเป็นพิเศษ เช่น ตัวอักษร รูปภาพ ช่วยเพิ่มมูลค่าของชิ้นงาน ทำให้งานดูมีมิติ ดึงดูดสายตาของผู้พบเห็น

ขอบนามบัตร

เป็นขอบมาตรฐานที่คนนิยมใช้กัน เนื่องจากง่ายต่อการไดคัท ช่วยลดต้นทุนในการผลิต

เป็นขอบโค้งมน ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้ชิ้นงานดูมีดีไซน์มากยิ่งขึ้น แต่ราคาจะสูงกว่านามบัตรปกติเล็กน้อย เนื่องจากต้องไดคัทขอบเพิ่มเติมจากแบบปกติ