กฏหมายที่มีผลต่อฉลากสินค้า
ในการผลิตสินค้าโดยเฉพาะอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ฉลากสินค้าจะเป็นสิ่งที่บอกถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทุกคนก่อนตัดสินใจซื้อและใช้งาน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับฉลากสินค้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนทำแบรนด์อย่ามองข้ามเด็ดขาดหากไม่อยากเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ซึ่งไม่ได้มีแค่เรื่องการถูกปรับแต่ยังส่งผลถึงชื่อเสียงในการทำธุรกิจอีกด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจจ้างบริการ
รับออกแบบฉลากสินค้า
มาศึกษาข้อมูลกัน
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ทำการจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จุดประสงค์หลักคือให้หน่วยงานราชการทำหน้าที่ควบคุม ดูแล ประสานงาน ปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองและให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้อง รับการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากถูกผู้ประกอบการละเมิดสิทธิ์ตามความคุ้มครอง 4 ข้อ ได้แก่ 1. สิทธิ์การได้รับข่าวสาร รายละเอียดด้านคุณภาพที่ถูกต้อง เพียงพอของสินค้า / บริการ ที่ถูกระบุเอาไว้บนกล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ 2. สิทธิ์ที่จะมีอิสระต่อการเลือกหาสินค้า / บริการ โดยไม่มีการผูกขาดใด ๆ 3. สิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า / บริการ 4. สิทธิ์ที่จะได้รับชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้า / บริการ ทั้งนี้สิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคจะมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รับผิดชอบและดูแลประสานงานให้ โดยแบ่งการคุ้มครองเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านการโฆษณากับด้านฉลากสินค้า ผู้บริโภคสามารถร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ
ฉลากสินค้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
นอกจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว เรื่องของฉลากสินค้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องก็ยังมีกฎหมายฉบับอื่น ๆ อยู่ด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าทุกชิ้นที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม และหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ที่เล็งเห็นว่าตนเองเสียประโยชน์ก็สามารถร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งกฎหมายที่น่าสนใจเพิ่มเติม มีดังนี้ 1. พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 ฉลากสินค้าบนกล่องลูกฟูก กล่องกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ต้องมีการระบุปริมาณสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคตามปริมาณที่กำหนด ครอบคลุมทั้งที่ผลิตในประเทศและการนำเข้า - ส่งออกนอกประเทศด้วย รวมถึงอุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด ต้องผ่านการรับรอง ตัวเลขปริมาณบนฉลากได้ทั้งไทยและอารบิค ขนาดตัวเลขและอักษรไม่เล็กกว่า 2 มม. 2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประเภทอาหารควบคุมเฉพาะที่มีการกำหนดคุณภาพและกำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารพร้อมขออนุญาตการใช้ฉลาก ต้องได้รับอนุญาตจึงสามารถผลิตและจัดจำหน่ายต่อไปได้ ฉลากสินค้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่เจ้าของแบรนด์ต้องให้ความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มบริโภคทั้งหลาย เพราะความปลอดภัยของทุกคนต้องสำคัญเป็นอันดับแรกเสมอ และถ้าธุรกิจผลิตอย่างซื่อสัตย์ก็ไม่มีสิ่งใดให้ต้องกังวลใจเรื่องของการติดฉลากสินค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถจ้างบริการ
รับออกแบบฉลากสินค้า
ดีไซน์ตามที่ต้องการได้เลย
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
แชร์บน Facebook
บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีในการใช้สติกเกอร์สำหรับธุรกิจของคุณ
หากคุณยังไม่ได้ใช้สติกเกอร์สำหรับธุรกิจอยู่แล้ว คุณไปอยู่ที่ไหนมาบ้าง ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่สัมผัสได้เหล่านี้เป็นวิธีง่า...
09/08/2565 11:05
อ่าน : 6546 ครั้ง
5 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในสิ่งพิมพ์
เนื่องจากโลกการตลาดได้เปลี่ยนไปทางออนไลน์ผู้คนจำนวนมากจึงเชื่อมั่นว่าการตลาดสิ่งพิมพ์ไม่ใช่วิธีดึงดูดลูกค้าอีกต่อไป สิ่ง...
12/11/2563 13:57
อ่าน : 10026 ครั้ง
การออกแบบหน้ากากให้เข้ากับทุกฤดูกาล
ปี 2021 เป็นปีที่หน้ากากนั้นก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ และไม่ว่าคุณจะอยากนั่งรถบัสทำหน้าบึ้งตึงในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือปลดปล่อย...
23/03/2564 14:07
อ่าน : 7428 ครั้ง